อย่าปล่อยให้สนามเด็กเล่นได้รับบาดเจ็บทำให้เสียความสนุก

Picnics และบาร์บีคิวเป็นส่วนสำคัญของวันหยุดสุดสัปดาห์ Memorial Day แต่การเก็บรักษาอาหารให้ปลอดภัยในเหตุการณ์เหล่านี้อาจเป็นเรื่องที่ท้าทาย
ขั้นตอนแรกคือการล้างมือก่อนและหลังการจัดการอาหารใด ๆ หากคุณอยู่นอกอาคารและไม่สามารถเข้าถึงสบู่และน้ำให้นำเจลทำความสะอาดมือที่มีแอลกอฮอล์อย่างน้อย 60 เปอร์เซ็นต์แนะนำ Torey Armul นักโภชนาการนักโภชนาการที่ได้รับการจดทะเบียน
“นอกจากนี้อย่าลืมทำความสะอาดตู้เย็นตะกร้าปิกนิกและถุงหิ้วของคุณเป็นประจำเพราะสิ่งเหล่านี้อาจเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของแบคทีเรีย” Armul โฆษกของ Academy of Nutrition and Dietetics กล่าว
หากคุณวางแผนที่จะทำอาหารที่ไซต์งานปิกนิกแยกเนื้อสัตว์ปีกสัตว์ปีกและอาหารทะเลออกจากอาหารพร้อมทานเธอแนะนำในการออกข่าวสถาบัน
“ใช้เครื่องทำความเย็นเครื่องหนึ่งสำหรับเนื้อสัตว์ดิบและอีกเครื่องหนึ่งสำหรับอาหารพร้อมรับประทานเช่นผลไม้ผักชีสและของหวานนำชุดจานและช้อนส้อมสองชุด: ชุดหนึ่งสำหรับจัดการกับเนื้อดิบและชุดที่ให้บริการอาหารปรุงสุก” อาร์มูลกล่าว
รักษาความเย็นในที่ร่มโดยปิดฝา วางเครื่องวัดอุณหภูมิในตู้เย็นเพื่อให้แน่ใจว่ายังคงอยู่ที่ 40 องศาฟาเรนไฮต์หรือต่ำกว่าเธอแนะนำ
ใช้เทอร์โมมิเตอร์วัดอุณหภูมิอาหารเพื่อให้แน่ใจว่าอาหารมีอุณหภูมิสูงพอที่จะฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เป็นอันตรายได้ ควรปรุงเนื้อสัตว์บดที่อุณหภูมิอย่างน้อย 160 องศาฟาเรนไฮต์ตามรายงานของกระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกา (USDA) กระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกาขอแนะนำให้ไก่ – รวมถึงอกไก่และไก่พื้น – ควรทำที่อุณหภูมิ 165 องศาฟาเรนไฮด์ในขณะที่ควรปรุงสเต็กอย่างน้อย 145 องศาฟาเรนไฮด์
หลังจากมื้ออาหารทิ้งอาหารที่เน่าเสียง่ายที่ไม่ได้แช่ตู้เย็นมานานกว่าสองชั่วโมงหรือเพียงแค่หนึ่งชั่วโมงถ้าอุณหภูมิภายนอกมากกว่า 90 องศาอาร์มาลกล่าว

โรเบิร์ต ค็อค (Robert Koch) ผู้ค้นคว้าในเรื่องของแบคทีเรีย

          “โรเบิร์ต ค็อค” (Robert Koch) นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันผู้ค้นคว้าในเรื่องของแบคทีเรีย เป็นผู้ที่แยกเชื้อโรคซึ่งเป็นตัวทำให้เกิดโรคอหิวาต์และวัณโรคได้

          โรเบิร์ต ค็อค เกิดในปี พ.ศ.2386 เขาเป็นแพทย์ที่อยู่ในกลุ่มของผู้บุกเบิกการศึกษาเกี่ยวกับแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคต่างๆ ซึ่งเป็นพื้นฐานของการศึกษาโรคในปัจจุบัน โดยเขาเริ่มศึกษาจากโรคที่เกิดกับแกะ แต่ยังไม่ทราบว่ามันคือเชื้อแอนแทรกซ์ โดยพบว่าเป็นเชื้อโรคที่มีลักษณะเป็นแท่งกลมยาว

          ดังนั้นค็อคจึงศึกษาต่อด้วยการเพาะเลี้ยง “เชื้อแอนแทรกซ์” นี้ ในอาหารเลี้ยงเชื้อบนสไลด์ทำให้พบว่าเชื้อโรคนี้เจริญเป็นสายยาว รูปร่างเป็นรูปไข่โปร่งแสง และมีสปอร์ที่อยู่ในระยะฟักตัว โดยสปอร์นี้จะอยู่ได้นายหลายปี และสามารถเจริญเติบโตได้เมื่ออยู่ในสภาพเหมาะสม แล้วพัฒนาเป็นแบคทีเรียที่มีรูปร่างเป็นแท่งกลม ซึ่งสรุปได้ว่าเป็นสาเหตุของ “โรคแอนแทรกซ์”

          นอกจากนี้ เขายังศึกษาเพิ่มเติมจนพบว่า สัตว์ชนิดต่างๆ จะมีอาการของโรคแตกต่างกัน และร่างกายของสัตว์ เป็นแหล่งเพาะเลี้ยงแบคทีเรียให้บริสุทธิ์ได้ดี

          หลังจากนั้น ค็อคมาทำงานที่สถาบันสุขภาพเยอรมัน ในกรุงเบอร์ลิน จึงสร้างห้องทดลองแบคทีเรีย และค้นพบวิธีแยกเชื้อแบคที่เรียที่ก่อให้เกิดโรคได้ โดยนำเทคนิคการแยกเชื้อมาใช้ศึกษาวัณโรค

          จนกระทั่งในวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ.2425 เขาก็สามารถแยกเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดวัณโรคได้สำเร็จ โดยสกัดสารที่เป็นของเหลวชื่อ “ทูเบอร์คูลิน” (tuberculin) จากแบคทีเรียที่เพาะเลี้ยงไว้ได้ ซึ่งช่วยตรวจสอบได้ว่าเป็นเชื้อวัณโรคหรือไม่

          ระหว่างที่กำลังศึกษาวัณโรค ได้เกิดอหิวาต์ระบาดอย่างรุนแรงในอียิปต์และแพร่สู่ยุโรป ค็อคได้รับมอบหมายให้ไปตรวจสอบ ทำให้พบสาเหตุของโรคว่าเกิดจากแบคทีเรีย แต่เขาไม่สามารถหยุดการระบาดได้ ดังนั้นเขาจึงไปที่อินเดีย และได้ค้นพบแบคทีเรียที่ทำให้เกิดอหิวาต์ได้สำเร็จ

          นอกจากนี้ ค็อคยังศึกษาโรคอื่นๆ อีก เช่น โรคเรื้อน โรคไวรัสในสัตว์เลี้ยง กาฬโรค ไข้แท็กซัส และมาลาเรีย
โดยวัณโรคเป็นโรคติดต่อที่ร้ายแรง ผู้ป่วยจะมีอาการไอเรื้อรัง จนมีเสมหะปนเลือด เจ็บหน้าอก อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร รวมทั้งปอดยังถูกทำลาย ทำให้ผอมแห้งและเสียชีวิต ซึ่งสามารถติดต่อได้จากการสัมผัสกับละออง เสมหะหรือน้ำลายของผู้ป่วย แต่หลังจากมีการค้นพบตัวยาที่ใช้รักษาได้ผลดีและมีวัคซีนฉีดป้องกัน ทำให้ผู้ป่วยวัณโรคได้ลดน้อยลง

          อย่างไรก็ตาม องค์การอนามัยโลกได้รณรงค์ให้ประเทศต่างๆ ควบคุมการแพร่ระบาดของวัณโรคให้สำเร็จ และได้มีการจัดประชุมผู้เชี่ยวชาญด้านวัณโรคอยู่เสมอ จนกระทั่งในปี พ.ศ.2541 ได้มีการจัดการประชุมที่กรุงลอนดอน โดยกำหนดให้วันที่ 24 มีนาคม ของทุกปีเป็น “วันวัณโรคโลก” (World TB Day) เพื่อให้ทุกประเทศ ร่วมกันรณรงค์ต่อต้านไม่ให้วัณโรคกลับมาระบาดเป็นโรคติดต่อเหมือนที่ผ่านมา

          คอคได้รับรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์ในปี พ.ศ. 2448 (ค.ศ. 1905) จึงได้ชื่อว่าเป็นผู้ริเริ่มสาขาวิชาจุลชีววิทยาสมัยใหม่ ร่วมกับคู่แข่งของเขาที่ปารีส คือ “หลุยส์ ปาสเตอร์” คอคเป็นผู้วางรากฐานการศึกษาการติดเชื้อและก่อตั้งสาขาวิชาเวชศาสตร์เขตร้อนในเยอรมัน โรเบิร์ต ค็อค ถึงแก่กรรมในปี พ.ศ. 2453

ที่มา : บุคคลสำคัญของโลก จาก Msolution

โธมัส เอลวา เอดิสัน (Thomas Alva Edison) ฉายา “พ่อมดแห่งเมนโลพาร์ก”

          ชาวอเมริกันชื่อ “โธมัส เอลวา เอดิสัน” (Thomas Alva Edison) เป็นยอดนักประดิษฐ์ที่เริ่มประดิษฐ์สิ่งของเมื่อเขามีอายุได้เพียง 10 ขวบ สามารถสร้างเครื่องบันทึกเสียงได้แม้เขาจะเป็นคนหูหนวก และทำงานอย่างขยันขันแข็งค้นคว้าไม่หยุดหย่อน จนมีเวลานอนเพียง 4-5 ชั่วโมงเท่านั้น เขาได้รับการยกย่องให้เป็นนักประดิษฐ์และนักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่คนหนึ่ง ทั้งๆ ที่เขาไม่ได้เรียนหนังสือมากนัก แต่สามารถศึกษาหาความรู้ได้จากนอกโรงเรียนและทดลองค้นคว้าด้วยตัวเอง จนมีชื่อเสียงโด่งดัง

          โธมัส เอลวา เอดิสัน เกิดในปี ค.ศ. 1847 ที่มลรัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา เมื่อเข้าโรงเรียนครูกล่าวว่า เขาไม่สามารถเรียนคณิตศาสตร์ได้ ดังนั้นหลังจากเรียนได้สามเดือน บิดามารดาก็ต้องเอาออกจากโรงเรียน แล้วมารดาก็เป็นผู้สอนแทน เธอสอนให้เขาอ่านและเขาก็สนใจอ่านหนังสือเกี่ยวกับเคมีตามที่เขาจะสามารถหาอ่านได้

          พออายุได้ 12 ปี เขาได้ทำงานเป็นเด็กเดินข่าวของรถไฟ ขายหนังสือพิมพ์และผลไม้ เอดิสันหูตึงเพราะถูกพนักงานรถไฟคนหนึ่งกระแทกที่หูอย่างแรง เมื่อเขาทำสารเคมีชนิดหนึ่งหกลงไปจนเกิดไฟลุกในห้องเก็บของ ซึ่งเอดิสันใช้เป็นห้องทำงานและทำการทดลองวิทยาศาสตร์ แต่ตามที่เอดิสันแถลงด้วยตัวเองนั้น เขากลับกล่าวว่า “การที่หูเขาเกิดพิการก็เพราะมีพนักงานรถไฟคนหนึ่งได้ช่วยเหลือเขา โดยจับหูเขาดึงขึ้นมาบนรถไฟที่กำลังเคลื่อนที่ขณะที่เขาเลื่อนไถลลงไปใต้ท้องรถและจวนเจียนจะถูกล้อทับอยู่แล้ว”

          การที่เอดิสันกลายเป็นคนหูพิการมิได้ช่วยให้เขารอดชีวิตอยู่เท่านั้น แต่ยังเป็นการช่วยให้มีเครื่องบันทึกเสียงเกิดขึ้นอีกด้วย จากอุบัติเหตุทำให้เกิดไฟไหม้ครั้งนั้นทำให้เอดิสันถูกไล่ออกและตกงาน แต่ไม่มีสิ่งใดทำให้เขาท้อแท้ได้ นายสถานีประทับใจในความเฉลียวฉลาดและไหวพริบของเขามาก จึงได้สอนเรื่องการส่งโทรเลขให้ ดังนั้นเมื่อเขาอายุได้ 15 ปี ก็ได้งานเป็นคนส่งโทรเลข เขาได้ประดิษฐ์เครื่องทุ่นแรงในการส่งข่าวโทรเลขในปี ค.ศ.1889

          ขณะอายุ 21 ปี และได้จดลิขสิทธิ์สิ่งประดิษฐ์ชิ้นแรกของเขา เอดิสันได้จดลิขสิทธิ์สิ่งประดิษฐ์ของเขามากกว่า 1,200 อย่าง เขาได้ประดิษฐ์สิ่งสำคัญขึ้นหลายอย่างเกี่ยวกับกระแสไฟฟ้า ความจริงเขาเป็นคนที่มีทักษะที่จะปฎิบัติตามความคิดใหม่ๆ ได้ทุกอย่าง

          เราระลึกถึงเอดิสันในเรื่องแสงไฟฟ้า เพราะขณะนั้นยังไม่มีไฟฟ้าใช้ในการให้แสงสว่างในบ้านธรรมดาได้ เนื่องจากยังไม่มีหลอดไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพ ภายในบ้านยังต้องใช้เทียนหรือตะเกียงน้ำมัน และประมาณปี ค.ศ.1850 จึงเริ่มใช้ก๊าซ ตอนต้นศตวรรษที่ 19 เซอร์ฮัมฟรีย์ เดวี่ ได้ประดิษฐ์ตะเกียงที่ทำให้เกิดแสงโดยผ่านกระแสไฟฟ้าไปยังแท่งคาร์บอน 2 แท่ง ทำให้เกิดความสว่างขึ้น แต่ก็ใช้ให้แสงสว่างบนท้องถนน เนื่องจากมีขนาดใหญ่และเทอะทะ ไม่เหมาะที่จะใช้ในบ้านเรือน

          ต่อมาในปี ค.ศ. 1878 นักวิทยาศาสตร์โจเซฟ สวอน มาจากเมืองซันเดอร์แลนด์ ได้ประดิษฐ์หลอดไฟฟ้าขึ้นเป็นครั้งแรก เขาใช้แท่งคาร์บอนเล็กๆ ติดในกระเปาะแก้ว และทำให้แท่งคาร์บอนร้อนด้วยไฟฟ้า ทำให้เกิดแสงสว่างขึ้น คาร์บอนไม่เหมือนกับโลหะทั้งหลาย สามารถทำให้ร้อนพอที่จะให้ความสว่างโดยไม่หลอมละลาย แต่หลอดไฟฟ้าของสวอนให้แสงสว่างน้อยเกินไป ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ เอดิสันซึ่งทำงานด้านเดียวกับสวอนในสหรัฐอเมริกา มองเห็นที่จะปรับปรุงสิ่งประดิษฐ์ของสวอนให้ดีขึ้นได้ ถ้าทำให้หลอดแห้วเป็นสูญญากาศ แท่งคาร์บอนหรือเส้นลวดก็จะเกิดแสงสว่างที่สว่างกว่าเก่า โดยที่ไม่ทำให้หลอดแก้วร้อนเกินไป ดังนั้นเอดิสันและโจเซฟ สวอน จึงได้รับเกียรติร่วมกันในสิ่งประดิษฐ์ที่สำคัญนี้

          เอดิสันได้ประดิษฐ์สิ่งต่างๆ กว่า 1,200 ชนิด ผลงานของเขา อาทิเช่น แสงไฟฟ้า หีบเสียง เครื่องบันทึกเสียง ฯลฯ เอดีสันทำงานอย่างขยันขันแข็ง คืนหนึ่งๆ เขานอนเพียง 4-5 ชั่วโมงเท่านั้น ในตอนปลายของชีวิตสุขภาพของเขาทรุดโทรมลงไปมาก และถึงแก่กรรมในปี ค.ศ. 1931

ที่มา : บุคคลสำคัญของโลก จาก Msolution

แซมมวล มอร์ส (Samuel Morse) ผู้ค้นพบอักษรมอส

          เมื่อย้อนไปในราวก่อน ค. ศ. 1800 การส่งข่าวระหว่างกันในระยะไกลยังคงเป็นการตีธง การส่งสัญญาณไฟ หรือโดยเมล์ด่วนกันอยู่ จนกระทั่งปี ค.ศ. 1832 นั่นเองที่การส่งข่าวสารกันโดยทางกระแสไฟฟ้าได้เริ่มขึ้น โดยนักวิทยาศาสตร์ที่ชื่อ “แซมมวล มอร์ส” (Samuel Morse)

          “แซมมวล ฟินลีย์ บรีส มอร์ส” ชาวอเมริกัน เกิดในปี 1791 การคิดประดิษฐ์เครื่องส่งโทรเลขของเขานั้นได้เริ่มขึ้นในปี 1832 ขณะที่เขาเดินทางโดยเรือใบที่ชื่อ “ซัลลีย์” และเฝ้าดูการทดลองง่ายๆ ของ “ดร. แจคสัน” (Dr. Jackson) ซึ่งโดยสารมาในเรือลำเดียวกันโดย ดร. แจคสัน เอาลวดพันรอบๆ แท่งเหล็กแท่งหนึ่งและแสดงให้เห็นว่าเหล็กกลายเป็นแม่เหล็ก เนื่องจากใช้ดูดตะปูได้ แต่เมื่อตัดกระแสไฟฟ้าออก เหล็กก็หมดวามเป็นแม่เหล็กและตะปูก็ร่วงหล่นลงมา

          จากการทดลองเกี่ยวกับแม่เหล็กไฟฟ้าเช่นนี้ ทำให้ แซมมวล มอร์ส เกิดความคิดเกี่ยวกับการส่งรหัส โดยอาศัยแม่เหล็กไฟฟ้า มอร์สได้ประดิษฐ์สวิตช์ไฟง่ายๆ จากแผ่นโลหะสปริงทองเหลือง ตรงปลายมีปุ่มไม้สำหรับกด เมื่อกดปุ่มไม้ลงจะมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านสวิตช์ แต่เมื่อเลิกกดสวิตช์จะเกิดกระแสไฟฟ้าไม่ไหล สมัยนี้เราเรียกสวิตช์ไฟฟ้านั่นว่า “สะพานไฟของมอร์ส” ใช้ในการส่งกระแสไฟฟ้าเป็นเวลาสั้นๆ ยาวๆ ตามรหัส กระแสไฟฟ้านี้จะไหลผ่านสายลวดที่ขึงไว้ระหว่างเมืองกับเมืองหรือประเทศกับประเทศไปยังแม่เหล็กไฟฟ้าเล็กๆ ซึ่งมีสปริงที่เรียกว่า “อาร์เมเจอร์” ต่ออยู่ในขณะที่มีกระแสไฟฟ้าสั้นๆ หรือ “จุด” อาร์เมเจอร์จะถูกดูดด้วยแม่เหล็กไฟฟ้าและดีดกลับเพราะสปริง ในขณะที่มีกระแสยาวๆ หรือ “ขีด” อาร์เมเจอร์จะถูกดูดด้วยแม่เหล็กไฟฟ้านานหน่อยโดยใช้ออดไฟฟ้า เราอาจจะได้ยินเสียงออดสั้นบ้างยาวบ้างสลับกันไป

          มอร์สเป็นผู้คิดระบบที่ใช้รหัสสั้นๆ ยาวๆ แทนตัวอักษรต่างๆ เพื่อจะได้ส่งขอความไปกับเส้นลวดด้วยรหัสเช่นนี้ได้ ระบบเช่นนี้เรียกว่า “รหัสของมอร์ส”

          แซมมวล มอร์ส ผู้ค้นพบสิ่งประดิษฐ์อันทรงคุณค่าและเป็นพื้นฐานของความเจริญก้าวหน้าทางการสื่อสาร และเขาก็ได้ถึงแก่กรรมในปี ค. ศ. 1875

ที่มา : บุคคลสำคัญของโลก จาก Msolution

Tags: ชีวประวัติบุคคลสำคัญ, บุคคลสำคัญ, บุคคลสำคัญของโลก, ผู้ค้นพบอักษรมอส, อักษรของมอส, อักษรมอส, แซมมวล ฟินลีย์ บรีส มอร์ส, แซมมวล มอร์ส

เซอร์ ฮัมฟรีย์ เดวี (Sir Humphry Davy) ผู้ค้นพบก๊าซหัวเราะ

          ชาวอังกฤษ ชื่อ “เซอร์ ฮัมฟรีย์ เดวี” (Sir Humphry Davy) เกิดเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม ค.ศ. 1778 ที่เมืองคอร์นวอล ประเทศอังกฤษ ในครอบครัวชาวนาที่มีฐานะไม่ค่อยสู้ดีนัก บิดาของเขาถึงแก่กรรมเมื่อเขาอายุได้เพียง 6 ปี

          หลังจากจบการศึกษาแล้ว เขาก็ได้ทำงานเป็นผู้ช่วยของอยุรแพทย์คนหนึ่ง พร้อมกันนั้นเขาก็ทุ่มเทความสนใจให้กับการทดลองทางวิทยาศาสตร์และเคมี จนถูกไล่ออกจากงานเนื่องจากเขาชอบทำการทดลองทางเคมีทำให้เกิดการระเบิดขึ้นบ่อยๆ           

          ในสมัยนั้นการแพทย์ยังไม่เจริญก้าวหน้านัก โดยเฉพาะการผ่าตัดในโรงพยาบาลยังไม่มียาใดที่จะระงับความเจ็บปวดของคนไข้ในขณะผ่าตัด ฮัมฟรีย์ เดวี จึงพยายามคิดค้นหาวิธีระงับความเจ็บปวด และเขาก็ได้พบก๊าซชนิดหนึ่ง คือ “ไนตรัสออกไซด์” โดยการสูดเข้าไปโดยบังเอิญและค้นพบว่าก๊าซนี้ทำให้เขาหมดสติไปชั่วขณะ และพอตื่นขึ้นมาก็ไม่ได้รับอันตรายแต่อย่างใด และยังรู้สึกสดชื่นอีกด้วย เขาจึงเรียกมันว่า “ก๊าซหัวเราะ” (ซึ่งในเวลาต่อมาได้นำไปใช้เป็นยาสลบ)

          นอกจากนั้นเขาก็ทดลองสูดก๊าซชนิดต่างๆ เข้าไปจนเกิดอาการป่วย จึงต้องระงับการทดลองชั่วคราว

          นอกจากการค้นพบก๊าซหัวเราะแล้ว เขายังเป็นคนแรกที่แยกองค์ประกอบของน้ำได้เป็นผลสำเร็จ โดยการปล่อยกระแสไฟฟ้าให้ผ่านเข้าไปในน้ำ และแยกน้ำออกเป็นก๊าซได้ 2 อย่างคือ “ออกซิเจน” กับ “ไฮโดรเจน” เขาจึงได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้บุกเบิกกรรมวิธีสมัยใหม่ในการใช้ไฟฟ้าในการทดลองทางเคมีเป็นคนแรก

          และในปี พ.ศ. 2358 ฮัมฟรีย์ เดวี ก็ได้ประดิษฐ์ตะเกียงนิรภัยเพื่อใช้ในกิจการเหมืองเป็นครั้งแรก ซึ่งสิ่งประดิษฐ์ชิ้นสำคัญนี้เอง ทำให้ชื่อเสียงของเขาเป็นที่จดจำไปทั่วโลก โดยเฉพาะในหมู่ชาวเหมืองถ่านหิน เพราะในสมัยนั้นการขุดเหมืองถ่านหินนับเป็นการเสี่ยงอันตรายอย่างยิ่ง เพราะลึกลงไปในเหมืองนั้นจะมีก๊าซชนิดหนึ่งที่ชาวเหมืองเรียกว่า “ไฟอับ” แฝงอยู่ และมักจะเกิดระเบิดอย่างรุนแรงเมื่อโดนกับเปลวไฟจากตะเกียงน้ำมันที่คนงานใช้อยู่ จากโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นหลายครั้งนี่เอง ทำให้เจ้าของบ่อถ่านหินพากันร้องทุกข์ต่อ ฮัมฟรีย์ เดวี นักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งยงในสมัยนั้น

          ฮัมฟรีย์ เดวี จึงเดินทางไปที่เมืองนิวคาสเซิล และค้นคว้าสิ่งประดิษฐ์ที่จะสามารถป้องกันไม่ให้เปลวไฟจากตะเกียงน้ำมันแลบไปถึงไฟอับในเหมืองได้ ในที่สุดเขาก็ออกแบบโคมไฟป้องกันอันตรายขึ้นแบบหนึ่ง ซึ่งให้แสงสว่างและมีตะแกรงลวดเส้นบางๆ ซึ่งจะขัดขวางและป้องกันเปลวไฟมิให้แลบไปถึงไฟอับในเหมือง และแม้ว่าก๊าซจะถึงเปลวไฟทางตะแกรง แต่พื้นผิวที่เย็นของตะแกรงจะป้องกันความร้อนของเปลวไฟมิให้แลบไปถึงก๊าซข้างนอกได้ ก่อให้เกิดประโยชน์ทางอุตสาหกรรมถ่านหินเป็นอันมาก ได้ทำให้เขามีชื่อเสียงไปทั่วโลก และได้รับการแต่งตั้งเป็นขุนนาง (เซอร์) ในปี ค.ศ. 1812

          เซอร์ ฮัมฟรีย์ เดวีถึงแก่กรรมที่เมืองเจนีวา เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1829 เมื่อมีอายุได้ 51 ปี

ที่มา : บุคคลสำคัญของโลก จาก Msolution

อเล็กซานโดร โวลต้า (Alessandro Volta) ผู้ประดิษฐ์แบตเตอรี่ไฟฟ้า

          “อเล็กซานโดร โวลต้า” (Alessandro Volta) คือ นักฟิสิกส์และเคมีชาวอิตาเลียน เป็นผู้ค้นพบกระแสไฟฟ้าที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้และเป็นผู้ประดิษฐ์แบตเตอรี่ไฟฟ้า จนได้รับเกียรติให้นำชื่อของเขามาเป็นชื่อของหน่วยวัดแรงเคลื่อนของกระแสไฟฟ้าคือคำว่า “โวลต์”

          เกิดเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ค. ศ. 1745 ที่ประเทศอิตาลี เป็นคนเรียนหนังสือเก่งโดยเฉพาะวิชาเคมีและฟิสิกส์ จนได้รับแต่งตั้งให้เป็นศาสตราจารย์ประจำวิชาเคมีและฟิสิกส์ที่บ้านเกิดตั้งแต่อายุยังไม่ถึง 30 ปี และอีก 5 ปีต่อมาได้เป็นศาสตราจารย์ประจำวิชาปรัชญาธรรมชาติวิทยา ได้พบว่าในความชื้นระหว่างโลหะนั้นจะทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าไหลได้ จากการเชื่อมปลายโลหะต่างชนิดทั้ง 2 อันเข้าด้วยกัน จากหลักการนี้โวลต้าได้ลงมือประดิษฐ์แบตเตอรี่ขึ้น โดยอาศัยคาร์บอนและสังกะสีมาทำเป็นขั้ว

          นอกจากแบตเตอรี่ไฟฟ้าแล้ว โวลต้ายังประดิษฐ์สิ่งต่างๆ ให้แก่วงการวิทยาศาสตร์อีกมาก เช่น ตะเกียงแก๊ส เป็นต้น จากผลงานเหล่านี้ของเขานี่เอง ที่ทำให้เขาได้รับการยกย่องให้ใช้ชื่อของเขาเป็นหน่วยวัดแรงเคลื่อนไฟฟ้ากระแสคือคำว่า “โวลต์” นั่นเอง ถึงแก่กรรมเมื่อ วันที่ 5 มีนาคม ปี ค.ศ. 1827 ที่อิตาลี เมื่อมีอายุได้ 82 ปี

ที่มา : บุคคลสำคัญของโลก จาก Msolution

Tags: ผู้ค้นพบกระแสไฟฟ้า, ผู้ประดิษฐ์แบตเตอรี่ไฟฟ้า, อเล็กซานโดร โวลต้า, แบตเตอรี่ไฟฟ้า

อาร์คิมิดิส (Archimedes) “บิดาแห่งวิทยาศาสตร์ปฏิบัติ”

          “อาร์คิมิดิส” (Archimedes) คือ บุคคลสำคัญของโลกอีกผู้หนึ่ง เป็นนักวิทยาศาสตร์และนักคณิตศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในสมัยกรีกโบราณ เขาเป็นผู้บัญญัติกฎและพิสูจน์กฎนั้นด้วยการปฏิบัติและทดลองด้วยตัวเอง ซึ่งเป็นแบบอย่างและวิธีการที่นักวิยาศาสตร์ในปัจจุบันปฏิบัติกันอยู่ นอกจากเป็นนักคิดและนักค้นคว้าแล้ว อาร์คิมีดิสยังเป็นนักประดิษฐ์ที่ยิ่งใหญ่ โดยการสร้างเครื่องผ่อนแรงในการส่งหลายอย่าง จนได้ชื่อว่า “บิดาแห่งวิทยาศาสตร์ปฏิบัติ”

          “อาร์คิมีดิส” เกิดที่ซีราคิว ในเกาะซิซิลี ก่อนคริสตศักราช 248 ปี เป็นบุตรของนักดาราศาสตร์ผู้หนึ่ง เขาจบการศึกษาจากนครอเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์ และมีความสนใจในการศึกษาทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ภายหลังจบการศึกษาแล้ว เขาได้อุทิศเกือบทั้งชีวิตในการศึกษาค้นคว้าและทดลอง โดยได้รับการสนับสนุนจากกษัตริย์เฮียโรตลอดเวลา

          อาร์คิมีดิสใช้เวลาส่วนใหญ่ขลุกอยู่กับท่าเรือ และจากนิสัยการเป็นนักคิดและนักประดิษฐ์นั่นเอง เขาจึงสร้างเครื่องผ่อนแรงในการส่งสินค้าที่ท่าเรือหลายอย่าง และได้วางหลักการของคานดีด คานงัด และหลักการของลูกรอก ซึ่งเป็นแนวทางและต้นแบบในการสร้างเครื่องผ่อนแรงในยุคปัจจุบัน

          นอกจากงานประดิษฐ์เครื่องผ่อนแรงแล้ว สิ่งประดิษฐ์อีกชิ้นหนึ่งของเขาก็คือ ”กระจกรวมแสง” ซึ่งเป็นกระจกเว้าใช้ส่องกับแสงอาทิตย์แล้วจะเกิดการสะท้องแสงไปรวมกันที่จุดโฟกัส ทำให้เกิดเปลวไฟขึ้น ซึ่งกล่าวกันว่าเมื่อกรีกเกิดสู้รบกับโรมัน เรือรบของโรมันหลายลำได้ถูกเผาผลาญไปด้วยกระจกเรืองแสงแบบนี้นั่นเอง

          ผลงานการคิดค้นของเขาที่ได้รับการกล่าวขวัญและมีชื่อเสียงมากๆ ก็คือ “การตั้งกฎการหาความถ่วงจำเพาะของวัตถุต่างๆ” เล่ากันว่าครั้งหนึ่ง กษัตริย์เฮียโรทรงสงสัยว่ามงกุฏที่ทำด้วยทองคำของพระองค์จะถูกช่างทองเจือเงินเข้าไปด้วยเพื่อยักยอกทองบางส่วนไว้ แต่พระองค์ไม่ทราบว่าจะหาวิธีใดที่จะตรวจสอบโดยไม่ต้องนำมงกุฎไปหลอม จึงทรงให้อาร์คิมีดิสซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์และเพื่อนของพระองค์เป็นผู้พิสูจน์

         การต้องรับผิดชอบในงานนี้ทำให้อาร์คิมีดิสต้องใช้ความคิดอย่างหนัก ตอนแรกเขามองไม่เห็นทางที่จะตรวจสอบโดยไม่ต้องหลอมมงกุฎเลย แต่แล้วในที่สุดเขาก็ได้รับคำตอบในขณะกำลังจะอาบน้ำ เมื่อเขาก้าวเท้าลงไปในอ่างน้ำซึ่งมีน้ำอยู่เต็ม เขาสังเกตุเห็นว่าน้ำในอ่างน้ำบางส่วนจะล้นออกมาเมื่อเขาก้าวลงไปและคิดว่า ถ้าเขาเป็นคนอ้วน น้ำก็คงจะล้นออกมามากกว่านี้ และทันใดนั้นเขาก็กระโดดออกจากอ่างและตะโกนว่า “ยูเรกา ยูเรกา” (ซึ่งในภาษากรีกแปลว่า “ฉันรู้แล้ว”) เสียงดังลั่น

          การที่อาร์คิมีดิสตื่นเต้น เพราะน้ำที่ล้นออกจากอ่างทำให้เขาคิดหาแก้ปัญหาของกษัตริย์ได้ เขาทราบว่าเงินหนักครึ่งกิโลกรัมจะมีปริมาณมากกว่าทองที่มีน้ำหนักเท่ากัน ดังนั้นถ้าเขาจุ่มก้อนเงินลงในถ้วยที่มีน้ำเต็ม น้ำจะล้นออกมามากกว่าเมื่อจุ่มทองที่มีน้ำหนักเท่ากันลงไป เช่นเดียวกับคนอ้วนที่จะทำให้น้ำล้นออกจากอ่างมากกว่าคนผอม โลหะเงินผสมทองก็จะทำให้ปริมาณน้ำล้นออกมาน้อยกว่าเงินบริสุทธิ์ แต่จะมากกว่าทองบริสุทธิ์

          อาร์คิมีดิสจึงชั่งมงกุฎและทองแท่งหนึ่งให้มีน้ำหนักเท่ากัน แล้วเอามงกุฎและทองจุ่มลงในถ้วยที่มีน้ำเต็ม เขาพบว่ามงกุฎทำให้น้ำล้นออกมามากกว่าทอง เขาจึงทราบว่ามงกุฎนั้นไม่ได้ทำจากทองคำบริสุทธิ์ทั้งหมด แต่มีโลหะเงินและโลหะอื่นๆ เจือปนอยู่ จากนั้นอาร์คิมีดิสก็เริ่มค้นคว้าหาวิธีการที่จะหาปริมาณของเงินบริสุทธิ์ที่ผสมอยู่ในมงกุฎ โดยนำเอาเงินบริสุทธิ์หนักเท่ามงกุฎใส่ลงในถ้วยน้ำ และเปรียบเทียบปริมาตรของน้ำที่ล้นออกมาแต่ละครั้ง ด้วยวิธีนี้ทำให้เขาคำนวณได้ว่าในมงกุฎมีโลหะแต่ละชนิดผสมอยู่อย่างละเท่าไหร่

          เมื่อได้คำตอบแล้วเขาก็นำไปกราบทูลให้กษัตริย์เฮียโรทรงทราบ ทำให้พระองค์พอพระทัยมาก จึงพระราชทานรางวัลให้เขาและลงโทษช่างทองผู้คดโกง และจากเหตุการณ์นี้เอง เขาจึงเป็นผู้ตั้งกฎ ซึ่งถูกเรียกว่ากฎของอาร์คิมีดิสว่า “น้ำหนักของวัตถุที่หายไปในน้ำ จะเท่ากับน้ำหนักของน้ำที่ถูกวัตถุนั้นแทนที่” ซึ่งจากกฎข้อนี้เอง ทำให้นักวิทยาศาสตร์ยุคต่อมาได้ใช้ในการหาความถ่วงจำเพาะของวัตถุ

          อาร์คิมีดิสเสียชีวิตจากการถูกสังหาร เมื่อก่อนคริสตศักราช 323 ปี รวมอายุได้ 75 ปี

ที่มา : บุคคลสำคัญของโลก จาก Msolution

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) บิดาแห่งวิชาวิทยาศาสตร์

          “อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์” (Albert Einstein) ได้ชื่อว่าเป็น “บิดาแห่งวิชาวิทยาศาสตร์” มีเชื้อยิว – เยอรมัน เป็นผู้ให้กำเนิดระเบิดปรมาณู เป็นผู้ก่อตั้งทฤษฎีแห่งความสัมพัทธ์ และเป็นผู้ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ในวงการวิทยาศาสตร์

          ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 เขาเกิดที่เมืองอูลม์ ประเทศเยอรมนี เมื่อวันที่ 14 มีนาคม ค.ศ. 1879 ปีต่อมาครอบครัวก็ได้ย้ายจากเมืองอูลม์ไปเมืองมิวนิค อาศัยอยู่ที่นี่จนถึงอายุ 15 ปี เขามีจิตใจรักในทางดนตรีและสามารถสีไวโอลินได้ดีเมื่อมีอายุแค่ 6 ปี พออายุ 12 ปี ก็สามารถเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้ด้วยตัวเอง เมื่ออายุได้ 15 ปี ได้ย้ายตามครอบครัวจากมิวนิคไปที่มิลาน ประเทศอิตาลี เขาเรียนเก่งทางด้านคณิตศาสตร์และฟิสิกส์ จึงสอบเข้าเรียนที่ The Federal Institute of Technology ในซูริค ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ได้ ทั้งที่ตกวิชาภาษาศาสตร์ สัตวศาสตร์ และพฤกษศาสตร์

          หลังจากจบการศึกษาในปี ค.ศ.1900 ก็ทำงานเป็นครูสอนทางไปรษณีย์อยู่ 2 ปี จึงได้งานทำเป็นผู้เชี่ยวชาญทางเทคโนโลยี ในสถาบันแห่งหนึ่งในกรุงบอร์น ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ในปี ค.ศ. 1921 และได้รับเชิญไปปาฐกถาตามประเทศต่างๆ ในปี ค.ศ.1933 ขณะที่เขาอยู่ในสหรัฐฯ เป็นช่วงที่ฮิตเลอร์เรืองอำนาจและทำการกวาดล้างชาวยิว ไอน์สไตน์ซึ่งมีเชื้อสายยิวจึงถูกปลดออกจากการเป็นพลเมืองชาวเยอรมัน เขาจึงตกลงใจจะอยู่ในสหรัฐฯ โดยทำงานอยู่ที่สถาบันการศึกษาปรินซ์ตัน นิวเจอร์ซี และได้รับสัญชาติอเมริกันในปี ค.ศ. 1941

          เขาได้รับการยกย่องอย่างสูงก็ด้วยเหตุที่เขาคิดค้นทฤษฎีแห่งความสัมพัทธ์ ซึ่งเป็นทฤษฎีโดยเฉพาะสำหรับปฏิบัติกับวิชาเคลื่อนที่ของไฟฟ้าและทรรศนศาสตร์ นอกจากนี้เขายังได้ชื่อว่า เป็นผู้มีผลงานสำคัญอันเป็นผลประโยชน์ต่อทฤษฎีแควนตัมและทฤษฎีทั่วไปที่เกี่ยวกับความโน้มถ่วง เขาก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ในวงการวิทยาศาสตร์ แม้กระทั่งความนึกคิดในสมัยโคเปอร์นิคัส (นักดาราศาสตร์ชาวโปแลนด์) ก็ได้ถูกเขาหักล้างหลายประการ ตราบเท่าชีวิตของเขาๆ ได้ทำคุณประโยชน์ให้แก่งวงการวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันไว้อย่างมากมาย เขาได้ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ. 1955

ที่มา :: บุคคลสำคัญของโลก จาก Msolution

Tags: ชีวประวัติบุคคลสำคัญ, บิดาแห่งวิชาวิทยาศาสตร์, บุคคลสำคัญ, บุคคลสำคัญของโลก, อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์, ไอน์สไตน์

ออตโต ลิเลียทาล (Otto Lilienthal) ราชาเครื่องร่อน

          ออตโต ลิเลียทาล (Otto Lilienthal) นักประดิษฐ์และวิศวกรชาวเยอรมัน เกิดในปี ค.ศ. 1849 ถึงแก่กรรมในปี ค.ศ. 1896 ผู้นำการบินและการออกแบบเครื่องร่อน (gliding)

          เขาทำการทดสอบโดยการขึ้นไปบนหน้าผาและโดดลงมา ซึ่งมีความอันตรายมาก ตอนนั้นหนังสือพิมพ์และวารสารต่างๆ ในหลายประเทศ ได้ตีพิมพ์ภาพและเรื่องราวของเขาเป็นที่อึกทึกครึกโครม จนเขาได้รับสมญานามว่า “ราชาเครื่องร่อน” (Glider King)

          ต่อมาเขาประสบอุบัติเหตุเสียชีวิตในขณะทดลองบินเมื่อ 10 สิงหาคม ค.ศ.1896

ที่มา : บุคคลสำคัญของโลก จาก Msolution

อริสโตเติล (Aristotle) นักวิทยาศาสตร์และนักปรัชญาชาวกรีกสมัยโบราณได้รับการยกย่องมาเป็นเวลามากกว่า 2,000 ปี

          บุคคลสำคัญที่ชาวโลกกล่าวขวัญถึงโดยมิรู้ลืม คือ “อริสโตเติล” (Aristotle) เป็นนักวิทยาศาสตร์และนักปรัชญาชาวกรีกสมัยโบราณ ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ที่ทำการศึกษาค้นคว้าในวิทยาศาสตร์ทุกๆ แขนง มาเป็นเวลามากกว่า 2,000 ปี และเป็นนักสังเกตการณ์ทางธรรมชาติที่เชี่ยวชาญผู้หนึ่ง

          ทฤษฎีของเขาส่วนมากเป็นที่ยอมรับนับถือมากจนถึงสมัยศตวรรษที่ 14 แม้ทฤษฎีของเขาบางอย่างภายหลังมาพิสูจน์ว่าผิด ตัวอย่างเช่น ความเชื่อที่ว่าโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล แต่ก็ต้องเข้าใจว่าในสมัยนั้นยังไม่มีกล้องโทรทรรศน์เลย แต่ก็เป็นการแสดงให้เห็นว่าเขาเป็นนักสังเกตและนักคิดที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่ง

          อริสโตเติล เกิดเมื่อปี 260 ก่อนคริสตกาล ที่ประเทศกรีซ บิดาของเขาเป็นแพทย์ประจำพระองค์ของกษัตริย์แห่งมาซีดอน (Macedon) เมื่อเขาอายุได้ 18 ปี อริสโตเติลเดินทางไปศึกษาที่เมืองเอเธนส์ โดยเป็นศิษย์ของ “พลาโต”  (Plato) นักปราชญ์ชาวกรีกผู้มีชื่อเสียง

          จากการเป็นนักค้นคว้า, นักปราชญ์, นักวิทยาศาสตร์, นักดาราศาสตร์, และความเป็นคนช่างสังเกต ทำให้เขาได้สรุปความคิดเห็นและความเชื่อเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ไว้หลายประการ เช่น เป็นคนแรกที่แสดงให้คนในสมัยนั้นเชื่อว่าโลกมีสัณฐานกลม ซึ่งเขาได้ข้อสรุปนี้มาจากการสังเกตว่า เมื่อเกิดจันทรุปราคา เงาของโลกที่ทอดไปยังดวงจันทร์นั้นโค้ง ไม่ได้เป็นเส้นตรง วัตถุที่มีส่วนโค้งเท่านั้นจึงจะให้เกิดเงาที่โค้งได้ ดังนั้นโลกจึงต้องมีรูปร่างที่มีส่วนโค้ง

          นอกจากนั้นก็เป็นคนแรก ที่ให้ความเห็นว่าโลกอยู่ตรงกลางของจักรวาล โดยมีดวงอาทิตย์และดวงจันทร์หมุนรอบ ซึ่งความเห็นข้อนี้ได้รับความเชื่อถือมาหลายร้อยปี จนกระทั่ง “นิโคลลัส โคเปอร์นิคัส” นักดาราศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่เป็นผู้พิสูจน์ว่าแท้จริงแล้ว โลกเป็นเพียงดาวเคราะห์ดวงหนึ่งที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นศูนย์กลางของจักรวาลที่แท้จริง

          อริสโตเติลเขียนหนังสือไว้หลายเล่ม จึงทำให้นักวิทยาศาสตร์ปัจจุบันได้ทราบเรื่องผลงานของเขา เขาเป็นคนแรกที่ได้บันทึกพฤติกรรมของสัตว์และพืช นอกจากนั้นก็ยังสนใจในพฤติกรรมของมนุษย์อย่างลึกซึ้ง และมีความเชื่อว่า มนุษย์ทุกๆ คนมีความสามารถและความคิดไม่เท่ากัน แต่ทุกคนมีโอกาสที่จะเก่งได้เท่ากัน

          อริสโตเติลมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย คนหนึ่งนั้นก็คือ “อเล็กซานเดอร์” โอรสของกษัตริย์ฟิลลิปแห่งเมืองมาซีดอน ซึ่งกลายมาเป็นผู้มีอำนาจสูงที่สุดในโลกและเป็นผู้ครอบครองกรีซทั้งหมด ตลอดจนเปอร์เซียจนถึงประเทศอินเดีย แต่เมื่ออเล็กซานเดอร์มหาราชสิ้นพระชนม์เมื่อปี 323 ก่อนคริสต์ศักราช อริสโตเติลก็เสียผู้มีอำนาจที่จะสนับสนุน และมีหลายคนในเอเธนส์ที่ไม่ชอบเขา เขาจึงตัดสินใจหนีออกจากเอเธนส์พร้อมกับลูกศิษย์จำนวนหนึ่ง ก่อนที่จะถูกศัตรูทำร้าย

          อริสโตเติล ถึงแก่กรรมเมื่อ 322 ปีก่อนคริสตกาล รวมอายุได้ 62 ปี

ที่มา : บุคคลสำคัญของโลก จาก Msolution