แซมมวล มอร์ส (Samuel Morse) ผู้ค้นพบอักษรมอส

          เมื่อย้อนไปในราวก่อน ค. ศ. 1800 การส่งข่าวระหว่างกันในระยะไกลยังคงเป็นการตีธง การส่งสัญญาณไฟ หรือโดยเมล์ด่วนกันอยู่ จนกระทั่งปี ค.ศ. 1832 นั่นเองที่การส่งข่าวสารกันโดยทางกระแสไฟฟ้าได้เริ่มขึ้น โดยนักวิทยาศาสตร์ที่ชื่อ “แซมมวล มอร์ส” (Samuel Morse)

          “แซมมวล ฟินลีย์ บรีส มอร์ส” ชาวอเมริกัน เกิดในปี 1791 การคิดประดิษฐ์เครื่องส่งโทรเลขของเขานั้นได้เริ่มขึ้นในปี 1832 ขณะที่เขาเดินทางโดยเรือใบที่ชื่อ “ซัลลีย์” และเฝ้าดูการทดลองง่ายๆ ของ “ดร. แจคสัน” (Dr. Jackson) ซึ่งโดยสารมาในเรือลำเดียวกันโดย ดร. แจคสัน เอาลวดพันรอบๆ แท่งเหล็กแท่งหนึ่งและแสดงให้เห็นว่าเหล็กกลายเป็นแม่เหล็ก เนื่องจากใช้ดูดตะปูได้ แต่เมื่อตัดกระแสไฟฟ้าออก เหล็กก็หมดวามเป็นแม่เหล็กและตะปูก็ร่วงหล่นลงมา

          จากการทดลองเกี่ยวกับแม่เหล็กไฟฟ้าเช่นนี้ ทำให้ แซมมวล มอร์ส เกิดความคิดเกี่ยวกับการส่งรหัส โดยอาศัยแม่เหล็กไฟฟ้า มอร์สได้ประดิษฐ์สวิตช์ไฟง่ายๆ จากแผ่นโลหะสปริงทองเหลือง ตรงปลายมีปุ่มไม้สำหรับกด เมื่อกดปุ่มไม้ลงจะมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านสวิตช์ แต่เมื่อเลิกกดสวิตช์จะเกิดกระแสไฟฟ้าไม่ไหล สมัยนี้เราเรียกสวิตช์ไฟฟ้านั่นว่า “สะพานไฟของมอร์ส” ใช้ในการส่งกระแสไฟฟ้าเป็นเวลาสั้นๆ ยาวๆ ตามรหัส กระแสไฟฟ้านี้จะไหลผ่านสายลวดที่ขึงไว้ระหว่างเมืองกับเมืองหรือประเทศกับประเทศไปยังแม่เหล็กไฟฟ้าเล็กๆ ซึ่งมีสปริงที่เรียกว่า “อาร์เมเจอร์” ต่ออยู่ในขณะที่มีกระแสไฟฟ้าสั้นๆ หรือ “จุด” อาร์เมเจอร์จะถูกดูดด้วยแม่เหล็กไฟฟ้าและดีดกลับเพราะสปริง ในขณะที่มีกระแสยาวๆ หรือ “ขีด” อาร์เมเจอร์จะถูกดูดด้วยแม่เหล็กไฟฟ้านานหน่อยโดยใช้ออดไฟฟ้า เราอาจจะได้ยินเสียงออดสั้นบ้างยาวบ้างสลับกันไป

          มอร์สเป็นผู้คิดระบบที่ใช้รหัสสั้นๆ ยาวๆ แทนตัวอักษรต่างๆ เพื่อจะได้ส่งขอความไปกับเส้นลวดด้วยรหัสเช่นนี้ได้ ระบบเช่นนี้เรียกว่า “รหัสของมอร์ส”

          แซมมวล มอร์ส ผู้ค้นพบสิ่งประดิษฐ์อันทรงคุณค่าและเป็นพื้นฐานของความเจริญก้าวหน้าทางการสื่อสาร และเขาก็ได้ถึงแก่กรรมในปี ค. ศ. 1875

ที่มา : บุคคลสำคัญของโลก จาก Msolution

Tags: ชีวประวัติบุคคลสำคัญ, บุคคลสำคัญ, บุคคลสำคัญของโลก, ผู้ค้นพบอักษรมอส, อักษรของมอส, อักษรมอส, แซมมวล ฟินลีย์ บรีส มอร์ส, แซมมวล มอร์ส

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *